สาเหตุที่คุณไม่ควรมองข้ามอาการนอนกรน
“การนอนกรน ถูกวินิจฉัยมาเป็นเวลานานแล้วว่าเป็นสัญญาณความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด”
การนอนกรนเป็นภาวะของร่างกายที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในสังคมยุคปัจจุบัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถละเลยภาวะอาการดังกล่าวได้ เนื่องจากการรักษาการนอนกรนได้นั้น นอกจากจะส่งผลดีต่อคนที่นอนหลับข้างๆ คุณ (รวมถึงตัวคุณเอง!) คุณยังมีความสุขกับการนอนหลับอย่างมีคุณภาพได้ยาวนานยิ่งขึ้น และยังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่ตามมาได้อีกด้วย
โรคความดันโลหิตสูง
การนอนกรนเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากในเวลาที่คุณนอนกรน การหายใจของคุณจะถูกบังคับให้หยุดลงทันทีทันใด การหยุดชะงักของการหายใจจะทำให้เกิดภาวะความดันเลือดสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ในขณะที่ระดับออกซิเจนจะลดลงและสมองของคุณจะสั่งการให้หลอดเลือดบีบรัดตัว
นอกจากนี้ ภาวะความดันเลือดสูงสามารถคงอยู่ได้ตลอดทั้งวัน การศึกษาตลอดช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารยุโรปเกี่ยวกับการหายใจ (European Respiratory Journal) พบว่า การนอนกรนเป็น “ปัจจัยเสี่ยงอิสระของโรคความดันโลหิตสูง” ในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่าห้าสิบปี
โรคหลอดเลือดสมอง
มีงานวิจัยจำนวนมากพิสูจน์แล้วว่า การนอนกรนเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง แต่มีงานวิจัยฉบับหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยเรื่องการนอนในปี 2003 ซึ่งชี้แจงว่า แท้จริงแล้วการนอนกรนในเวลากลางวันต่างหากที่อาจเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
อีกหนึ่งโรคที่อาจตามมากับการนอนกรน คือ โรคเบาหวานชนิดที่สอง เมื่อร่างกายของคุณถูกกระตุ้นให้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะปรับเข้าสู่โหมด “สู้หรือหนี” ซึ่งจะเพิ่มระดับความเครียดและระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ปฏิกิริยาดังกล่าวของร่างกายจะนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มผู้หญิงราว 2,000 คนผู้ซึ่งได้รับการตรวจเช็คประวัติการสูบบุหรี่ ค่าดัชนีมวลกาย และประวัติการเป็นโรคเบาหวานของบิดามารดา มีภาวะของการนอนกรนซึ่งยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองได้ด้วยเช่นกัน
References:
http://www.thehealthsite.com/diseases-conditions/reasons-you-should-take-snoring-seriously-d0216/
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9623692
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14633243
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11867347