นอนกรนและภาวะหยุดหายใจมีปัจจัยเชื่อมโยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

(สำนักข่าวรอยเตอร์ส แวดวงสุขภาพ) -จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการหายใจในเวลากลางคืนเช่นนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะนอนหลับมักจะมีน้ำตาลในเลือดสูงและมีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

นักวิจัยกล่าวว่าจากการเฝ้าติดตามผู้ใหญ่กว่า 6,000 คนในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปี ชี้ให้เห็นว่าแพทย์ควรตรวจระดับน้ำตาลในเส้นเลือดของกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรนและภาวะหยุดหายใจมีปัจจัยเชื่อมโยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

(ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)

“หลักฐานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความชุกของโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมากกว่าบุคคลทั่วไป“ Linn Beate Strand ผู้เขียนรายงานกล่าวทางอีเมล์

“อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้สูงอายุ” Strand กล่าวที่ศูนย์การแพทย์บอสตันเบธ อิสราเอล ดีคอนเนส

รายงานจากสถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติ ระบุว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจะเกี่ยวข้องกับอัตราอุบัติการณ์คิดได้จากจำนวนครั้งที่เป็นระหว่างการนอนหลับเมื่อระบบทางเดินหายใจปิดคนก็จะหยุดหายใจบ่อยครั้งที่สูดลมหายใจอย่างกะทันหันจะก่อให้เกิดเสียงหายใจที่รุนแรงหรือก่อให้เกิดการสำลักอากาศ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยประมาณ 30 ครั้งต่อชั่วโมง จึงทำให้เกิดการง่วงนอนในตอนกลางวันและยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคหัวใจล้มเหลว, โรคหัวใจเต้นผิดปกติ, โรคเบาหวาน และยังเสี่ยงที่จะเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

นักวิจัยเจาะชี้เป้าไปที่วารสารการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานการศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นความผิดปกติด้านการนอนและโรคเบาหวานไปที่คนหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนแต่ Strand กล่าวกับ สำนักข่าวรอยเตอร์ส แวดวงสุขภาพ ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือการนอนกรนถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น

Strand และเพื่อนร่วมงานได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลประชากรจำนวน 5,888 คน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับคัดเลือกทั่วสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1989 และปี 1993 ผู้เข้าร่วมไม่ได้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีอายุเฉลี่ย 65 ปีหรือมากกว่า

ทุก ๆ 6 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1999 นักวิจัยได้ถามถึงผู้สูงอายุว่าได้สังเกตหรือสอบถามอาการภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ไม่ว่าจะเป็นคู่สมรสหรือเพื่อนร่วมห้อง ที่พูดถึงการนอนกรนส่งเสียงดังของพวกเขาหรือไม่ก็อาการง่วงนอนในเวลากลางวัน

นอกจากนี้ นักวิจัยยังสอบถามเกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับต่าง ๆ เช่น การนอนไม่หลับ การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม การตื่นนอนในเวลากลางคืนที่บ่อยครั้ง และการตื่นนอนที่เร็วเกินเวลาและไม่สามารถที่จะกลับไปนอนได้ต่อ

อินซูลินน้ำตาลในเลือดและฮอร์โมนอื่นๆ ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เข้าร่วมรับการศึกษาจะได้รับการตรวจสอบในช่วงต้นของการเข้าร่วมรับการศึกษา ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดของพวกเขาถูกวัดค่าหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในช่วงของการศึกษา นักวิจัยยังนำบันทึกอาการของผู้ป่วยที่พัฒนาอาการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาทำการศึกษาร่วมด้วย

ผู้สูงอายุที่รายงานถึงอาการของการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรืออาการง่วงนอนช่วงกลางวัน มักมีแนวโน้มของระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าผู้สูงอายุที่นอนหลับตามปกติพวกเขายังมีความต้านทานต่ออินซูลินนั่นแสดงให้เห็นถึงว่า ร่างกายของพวกเขาผลิตอินซูลินได้มากกว่าปกติ แต่ร่างกายของพวกเขาไม่สามารถใช้อินซูลินควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของพวกเขาได้

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติถึง 2 เท่าส่วนผู้ที่นอนกรนมีความเสี่ยงอยู่ที่ร้อยละ 27 และผู้ที่มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมีความเสี่ยงอยู่ร้อยละ 50 แม้จะไม่มีอาการบ่งชี้ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

ยิ่งมีความผิดปกติด้านการนอนมากเท่าใด ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานก็เพิ่มสูงขึ้นมากเท่านั้น

อาการนอนไม่หลับ ไม่มีส่วนเชื่อมโยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

“จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การปรับปรุงให้ผู้สูงอายุได้นอนหลับอย่างสบายอาจลดความเสี่ยงของการพัฒนาเป็นโรคเบาหวาน หรืออาจลดอาการความรุนแรงของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วได้” Eve Van Cauter ผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษากล่าวกับ สำนักข่าวรอยเตอร์ส แวดวงสุขภาพ ผ่านทางอีเมล์

Eve Van Cauter ยังกล่าวอีกว่า นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยชิคาโกได้พูดถึงการนอนหลับและการเผาผลาญอาหาร โดยที่พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า ความผิดปกติด้านการนอนก่อให้เกิดปัญหาเกือบทุกด้านของสุขภาพและมักจะเป็นสิ่งที่ถูกละเลยเสมอเมื่อเข้าทำการรักษาโรคเบาหวาน

“การตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติด้านการนอน อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ” รวมถึงลดความเสี่ยงในการพัฒนาก่อตัวไปเป็นโรคเบาหวานแบบเต็มตัวStrand กล่าว

การนอนหลับอย่างสบายถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้ดีแม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม Van Cauter ยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า “พวกเขาต้องรายงานข้อเท็จจริงให้แพทย์ของพวกเขาทราบ รวมถึง สุขอนามัยการนอนและสภาพการนอนของพวกเขา เพื่อทำการประเมินผลสุขภาพและรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของพวกเขา”

(ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)