การวางแผนกิจวัตรประจำวันของคุณเพื่อการนอนอย่างเต็มประสิทธิภาพ
บทความเกี่ยวกับการนอน
Apr 26, 2016
ปรับปรุง‘กิจวัตรเพื่อสุขภาพยามค่ำคืน’ ทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้เพื่อให้การนอนหลับของคุณเป็นเรื่องง่าย กำหนดกิจวัตรก่อนเข้านอน – เพื่อสร้าง“พฤติกรรมการนอนอย่างถูกสุขลักษณะ” – มันจะช่วยให้คุณนอนหลับได้อย่างง่ายดายในเวลากลางคืนและหลับสนิทได้จนถึงเช้า การปฏิบัติตามกิจวัตรดังกล่าวไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิด ลองปฏิบัติตามกิจวัตรทั้ง 5 ข้อดังต่อไปนี้ในตอนเย็นเพื่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น #กิจวัตรที่1: เข้านอนให้เป็นเวลา เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาในทุก ๆ วัน – แม้ว่าวันนั้นจะเป็นวันหยุดก็ตาม –การตั้งค่านาฬิกาภายในร่างกายของคุณเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้เชี่ยวชาญเรียกมันว่า‘นาฬิกาชีวิต’ การปฏิบัติกิจวัตรตามตารางเวลาในแต่ละวันจะทำให้คุณภาพการนอนของคุณดีขึ้นตามไปด้วย #กิจวัตรที่ 2:คิดสักนิดก่อนที่คุณจะรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม —รวมทั้งเวลาในการรับประทานอาหารด้วย นิโคตินและคาเฟอีน เป็นสารกระตุ้นที่ออกฤทธิ์ยาวนานหลายชั่วโมง ดังนั้น มันจะทำให้ร่างกายของคุณตื่นตัวและต้องใช้เวลานานกว่าจะสามารถนอนหลับได้จงหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นเหล่านี้เป็นเวลา 4-6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และถึงแม้ว่าแอลกอฮอล์จะทำให้คุณง่วง แต่มันจะลดคุณภาพการนอนของคุณลง ดังนั้น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเย็นจะดีกว่า นอกจากนี้ คุณควรใส่ใจเวลาการประทานอาหารด้วย –เนื่องจากการเข้านอนในเวลาท้องว่างหรือเวลาที่หิวอยู่อาจทำให้คุณหลับไม่ลง และควรดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ ให้น้อยลงเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องตื่นลุกไปเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ๆ กิจวัตร#3: จัดเตียงให้น่านอน สร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอนของคุณในน่านอนและผ่อนคลายที่สุดโดยการทำให้ห้องเงียบ เย็น และมืดสลัว ที่อุดหูจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยคุณได้มากหากห้องนอนของคุณอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีเสียงอึกทึก แสงสว่างจากภายนอกอาจรบกวนการนอนของคุณ ดังนั้น ลองใช้ม่านบังแสงช่วยฟูกนอนและหมอนคุณภาพดีอาจสร้างความแตกต่างได้อย่างใหญ่หลวง
...Read More
คุณทราบหรือไม่ว่าแต่ละช่วงอายุควรนอนวันละกี่ชั่วโมง?
บทความเกี่ยวกับการนอน
Apr 19, 2016
ความจำเป็นในการนอนหลับของคนเรานั้นจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุของคนเรา และคุณทราบหรือไม่ว่าแต่ละช่วงอายุควรนอนวันละกี่ชั่วโมง? Newborns (อายุไม่เกิน 3 เดือน) ควรนอนวันละ 14-17 ชั่วโมง/วัน Infants (อายุ 4-11 เดือน) ควรนอนวันละ 12-15 ชั่วโมง/วัน Toddler (อายุ 1-2 ปี) ควรนอนวันละ 11-14 ชั่วโมง/วัน Preschoolers (อายุ 3-5 ปี) ควรนอนวันละ 10-13 ชั่วโมง/วัน School Age Children (อายุ 6-13 ปี) ควรนอนวันละ 9-11 ชั่วโมง/วัน Teens (อายุ 14-17 ปี) ควรนอนวันละ 8-10 ชั่วโมง/วัน Young Adults (อายุ 18-25 ปี) ควรนอนวันละ 7-9 ชั่วโมง/วัน
...Read More
CPAP (ซีแพพ) คืออะไร?
บทความเกี่ยวกับนอนกรน
Apr 16, 2016
CPAP (ซีแพพ) คืออะไร? CPAP (ซีแพพ) ย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure คือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่มีสภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกลั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) CPAP มีหลักการในการรักษาคือ การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอ และโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน โดยลมที่เป่าด้วยความดันนี้มักเป็นเพียงอากาศปกติ ไม่ใช่การให้ออกซิเจนตามโรงพยาบาล (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็นมากเท่านั้น) ข้อดีของการรักษาด้วย CPAP การรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้นตามรายงานการวิจัยทั่วโลก จัดว่าเป็นการรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับระดับปานกลางหรือรุนแรง ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในแบบที่ไม่ต้องผ่าตัด (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ถ้าท่านได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและปรับความดันที่เหมาะสมกับท่านที่สุดโดยแพทย์เฉพาะทาง และท่านได้ใช้เครื่องตลอดทั้งคืน จะข้อดีมีทั้งในระยะสั้น คือ ท่านจะไม่มีอาการนอนกรนและจะนอนหลับได้ดีขึ้นพร้อมกับได้รับอากาศอย่างเต็มที่ ตื่นขึ้นมาจะสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย หรือ ความง่วงนอนตอนกลางวันอย่างที่ท่านรู้สึกความแตกต่างได้ รวมถึงในระยะยาวจะลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนหรืออาการอื่นๆที่เกิดจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับด้วย (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ปัญหาในการใช้ CPAP ได้แก่ จมูกอักเสบ แน่นจมูกในตอนเช้า ตาอักเสบ คอแห้ง
...Read More
ข้อดีและข้อเสียของ Travel CPAP
บทความเกี่ยวกับนอนกรน
Mar 26, 2016
Travel CPAP คืออะไร? Travel CPAP คือ CPAP สำหรับใช้ในการเดินทาง ท่องเที่ยวโดยเฉพาะตามป่า ยอดเขา หรือสถานที่อื่นๆ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีไฟฟ้า ข้อดีของ Travel CPAP – น้ำหนักเบา – ขนาดเล็ก – สามารถใช้แบตเตอรี่ หรือ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ ข้อเสียของ Travel CPAP – การผ่อนลมหายใจออก ทำได้ไม่ค่อยดีนัก – ราคาสูงกว่า CPAP ปกติ ถ้าเทียบ spec กันแล้ว – ไม่มีการรายงานผลการใช้งานที่หน้าจอ ซึ่งปัจจุบัน เป็นพื้นฐานทั่วไปของ CPAP แล้วว่าต้องมี ผู้ที่คิดจะใช้ Travel CPAP ควรพิจารณาว่าต้องใช้ในลักษณะไหน ถ้าคุณเป็น sale จำเป็นต้องเดินทางบ่อย และนอนโรงแรม แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Travel
...Read More
โรค TMJ – ผู้ที่จะใช้ที่ครอบฟันแก้นอนกรนควรทราบ
บทความเกี่ยวกับนอนกรน
Mar 14, 2016
TMJ (temporomandibular joint disorder) – ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรคืออะไร? (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรคืออะไร หรือ TMJ (temporomandibular joint disorder) หมายถึง ข้อต่อระหว่างขากรรไกรบนและล่างไม่สามารถทำงานอย่างที่ควรโดยข้อต่อนี้เป็นจุดที่มีความซับซ้อนมากที่สุดจุดหนึ่งในร่างกายของเรา มีผลต่อการเคลื่อนขากรรไกรล่างไปข้างหน้า หลัง และด้านข้าง ปัญหาใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ระบบของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรทำงานไม่ปกติ เราจะเรียกว่า ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกว่ากระดูกขากรรไกรของเรามีการเคลื่อนที่ หรือติดค้างในชั่วขณะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหาสาเหตุไม่ได้ อาการของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมีอะไรบ้าง? ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมีอาการและสัญญาณเตือนได้หลายประการ ปกติแล้วมักจะเป็นการยากที่จะรู้ว่ามีอาการ เนื่องอาการบางอย่างอาจจะเป็นปัญหาอื่นๆ ทันตแพทย์สามารถช่วยวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจสอบประวัติการรักษา การตรวจในคลินิค และการเอ็กซเรย์ อาการที่พบได้บ่อยคือ: อาการปวดศรีษะ (มักจะถูกคิดว่าเป็นอาการของไมเกรน) อาการปวดหู และอาการปวดบริเวณหลังตา เสียงคลิกเวลาอ้าปากหรือหุบปาก อาการปวดจากการหาว การอ้าปากกว้าง หรือการเคี้ยวอาหาร ขากรรไกรค้าง อาการเจ็บที่กล้ามเนื้อขากรรไกร ความเปลี่ยนแปลงกระทันหันของการสบกันระหว่างฟันบนและฟันล่าง ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรสามารถรักษาได้อย่างไร แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอนสำหรับความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร แต่ก็ยังมีหลายวิธีที่จะสามารถช่วยลดอาการได้อย่างมาก ซึ่งทันตแพทย์อาจแนะนำดังต่อไปนี้: การพยายามลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อด้วยยาคลายกล้ามเนื้อ
...Read More