ข้อดีและข้อเสียของการงีบหลับ
การศึกษาเกี่ยวกับการงีบหลับ
การศึกษาหนึ่งของ NASA ที่ได้ใช้นักบินอวกาศในการทดลอง พบว่าการงีบหลับเพียง 40 นาทีต่อวันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากถึง 34%
การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการงีบหลับและความดันโลหิต ได้ถูกศึกษาจากเหล่าแพทย์ที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับหัวใจ จากการศึกษาทำให้เราทราบว่า มนุษย์วัยกลางคนที่ได้งีบหลับระหว่างวันจะมีความดันโลหิตต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบหลับ ความแตกต่างของความดันโลหิตนี้มีส่งผลต่อโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจ
การวิจัยในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ยืนยันเกี่ยวกับการค้นพบที่ว่า ผู้สูงอายุที่งีบหลับเป็นประจำจะมีความดันต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบหลับถึง 5% เลยทีเดียว
ข้อดีของการงีบหลับ
– มีความความตื่นตัวมากขึ้น
– ทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด
– ลดอาการบาดเจ็บ
– ทำให้อารมณ์ดีขึ้น
– เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
-ลดอาการหลับในขณะขับรถ
– เพิ่มความสามารถด้านความจำ
– เพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงาน
การงีบหลับให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรทำอย่างไร?
การงีบหลับนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม การวางแผนที่ดีนั้นจะทำให้การงีบหลับมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีก วิธีการเหล่านี้คือวิธีการที่จะทำให้การงีบหลับมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ระยะเวลาในการงีบหลับ: ระยะเวลาที่มีประสิทธิที่ภาพที่สุดในการงีบหลับก็คือ 20 – 30 นาที เป็นระยะเวลาที่ร่างกายกำลังฟื้นตัวพอดีแต่ไม่ได้เข้าระยะเวลาหลับลึกหรือ REM (rapid eye movement) sleep ช่วงระยะของการหลับลึก (รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นระยะที่ 3 ของการนอนหลับ) ในขณะที่หลับลึกนั้น คนที่หลับจะปลุกยากนอกจากการปลุกยากแล้ว ยังทำให้เกิดอาการเหนื่อยและเฉื่อยชา ช่วงนอนหลับปกติที่ยังไม่เข้าสู่การหลับลึกจะอยู่ที่การนอนหลับใน 30 นาที หากผู้ที่หลับเข้าสู่ช่วงเวลาหลับลึกก่อน 30 นาทีอาจจะเกิดจากการนอนไม่เพียงพอหรือเป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับเช่น โรคลมหลับ
ช่วงเลาที่ควรจะงีบหลับมากที่สุด: จากการศึกษาของ Mayo Clinic พบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ 14.00 – 15.00 น.
สถานที่ที่ใช้ในการงีบหลับ: สถานที่ที่เหมาะสมต่อการงีบหลับมักจะเป็นสถานที่ที่เงียบสม สบาย อากาศเย็น เช่นเตียงของคุณ ข้อแนะนำให้ใส่หน้ากากปิดตาในขณะงีบหลับหรือปิดหน้าต่างให้สนิทด้วยผ้าม่านสีดำไม่ให้แสงแยงตา ที่อุดหูจะช่วยลดเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในเวลากลางวันที่เป็นอุปสรรคต่อการนอนของคุณ
ใครได้ประโยชน์มากที่สุดจากการงีบหลับ?
เกือบทุกคน สามารถได้รับประโยชน์จากการงีบหลับ แต่จะมีคนสามกลุ่มนี้ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการงีบหลับ
– กลุ่มคนที่ทำงานเป็นกะและคนที่ทำอาชีพขับรถ เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการงีบหลับ ทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมานี้โดยเฉลี่ยแล้วจะหลับพักผ่อนอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งพฤติกรรมการนอนน้อยเช่นนี้จะทำให้เกิดอาการนอนไม่พอนั้นเอง จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโอกาสหลับในขณะขับขี่ยานยนต์ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถได้ จากทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามาจึงทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตแย่ลงอีกด้วย
– คนไข้โรคลมหลับก็ได้รับประโยชน์จากการงีบหลับเช่นกัน โรคลมหลับเป็นโรคที่มีลักษณะอาการทำให้ร่างกายง่วงนอนตลอดเวลา “ร่างกายได้รับการโจมตีจากภาวะง่วง” ไม่ว่ากำลังทำกิริยาใดใดอยู่ก็ตามเช่น พูดคุย รับประทานอาหารหรือขับรถก็จะเกิดอาการง่วงขึ้นมากะทันหัน การงีบหลับจะช่วยลดอาการของภาวะ “ร่างกายได้รับการโจมตีจากความรู้ง่วงนอน” ได้บ้าง
ใครกันที่ไม่ควรงีบหลับ?
1. คนที่มีปัญหานอนไม่หลับ
การนอนไม่หลับในปัจจุบันเป็นอาการที่อาจจะเกิดขึ้นจากการงีบหลับในช่วงกลางวัน ในภาวะของผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ การงีบหลับจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดี สำหรับผู้ที่มีอาการหลับยากในช่วงเวลากลางคืน การงีบหลับในช่วงเวลากลางวันจะทำให้การข่มตาหลับตอนกลางคืนยากยิ่งขึ้น
อาการง่วงนอนจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาหลังจากที่เราตื่นจากการนอนหลับครั้งล่าสุด คนที่ตื่นมา 14 ชั่วโมงแล้วจะมีความต้องการที่จะนอนหลับมากกว่าผู้ที่เพิ่งตื่นมาได้ 7 ชั่วโมง ถ้างีบหลับในช่วง บ่าย 2 (7 ชั่วโมงหลังจากการตื่นจากการหลับครั้งล่าสุด) ก็ทำให้กลางคืนในอีก 7 ชั่วโมงต่อมาไม่ง่วงอีก ดังนั้นถ้าไม่ได้หลับในช่วงบ่ายก็จะสามารถนอนหลับในช่วง 4 ทุ่มได้อย่างสบาย
จากคำพูดของ Ralph Downey III, ผู้อำนวยการศูนย์กลางการนอนหลับที่สถาบัน Loma Linda กล่าวว่า “การงีบหลับเพียงชั่วครู่เท่านั้น ก็ทำให้อาการง่วงนอนตอนกลางคืนลดลง ทั้งที่จริงๆแล้วการงีบหลับก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งก็การพักผ่อนเล็กๆเท่านั้นเอง” ดังนั้นผู้ที่มีอากรนอนไม่หลับไม่ควรที่จะงีบหลับระหว่างวัน
2. คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
สำหรับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็จะเป็นคนที่ระหว่างการนอนนั้นมีอาการกรนและอาจจะมีอาการหยุดหายใจด้วย การงีบหลับในช่วงกลางวันหากใช้ระยะเวลาเทียบเท่ากับการนอนหลับในช่วงเวลากลางคืนก็จะทำให้เกิดอาการเช่นเดียวกัน
ในขณะที่ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กำลังหลับช่องลมจะถูกปิด อาการกรนและการหยุดหายใจก็จะเกิดขึ้นในขณะที่เกิดอาการขึ้นสมองจะถูกกระตุ้นให้เปิดช่องลมทันที แต่เมื่อได้หายใจต่อไปอีกสองทีช่องลมก็ถูกปิดอีกครั้ง เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นซ้ำไปมาจนทำให้เกิดอาการหลับๆตื่นๆขึ้นเพราะอาการการกรนและหยุดหายใจก็เกิดขึ้นในช่วงการนอนหลับตลอดเวลา หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้
ข้อสรุป
การงีบหลับในยามบ่ายเป็นระยะเวลาสั้นๆ จะช่วยฟื้นคืนพลังกายและความตื่นตัว แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของระยะเวลาในการงีบหลับและสถานที่ การงีบหลับจะมีประโยชน์สำหรับหลายคนรวมถึงผู้ที่ทำงานเป็นกะ ผู้ทำงานเกี่ยวกับการขับรถและผู้ป่วยเป็นโรคง่วงหลับจะได้รับประโยชน์จากการงีบหลับเป็นอย่างมาก ส่วนผู้ที่ไม่ควรงีบหลับคือ ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับและผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
Sources:
– Morgan Manella, One-third of Adults Do Not Get Enough Sleep, CNN, www.cnn.com, Feb. 18, 2016
– Jeff Hayward, 6 Pros and Cons of Napping for Adults, www.activebeat.com
– Power Naps: the Secret Weapon Your Business Might Be Missing, www.grasshopper.com
– Mayo Clinic, www.mayoclinic.org