3 อุปกรณ์รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ที่ได้ผล

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

3 อุปกรณ์รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ที่ได้ผล

อุปกรณ์รักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) แบบไม่ผ่าตัด – ผู้ใช้ไม่ได้หายขาด จำเป็นต้องใช้ทุกคืน ให้มองเหมือนคนใส่แว่นตาสำหรับคนสายตาสั้น

Q: แล้วแบบนี้จะถือว่าเป็นการรักษาได้อย่างไร? คงเป็นคำถามของคนส่วนใหญ่

A: การรักษาในที่นี้หมายถึง การลดค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา AHI ลง ส่งผลให้คุณภาพในการนอนหลับดีขึ้น

ปล. ในคนปกติจะมีค่า AHI น้อยกว่า 5 ครั้ง/ชม

บริษัท ไม่กรน จำกัด จึงขอแนะนำ 3 อุปกรณ์รักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) แบบไม่ผ่าตัดที่ได้ผล และทั่วโลกยอมรับ ดังนี้คือ

1. CPAP เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก [continuous positive airway pressure (CPAP)]

CPAP เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก

การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน จัดว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษา OSA ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดโลก ณ ปัจจุบัน โดยมีงานวิจัยรองรับมากมายทั่วโลก แต่มีจุดอ่อนในเรื่องของความสบายในการใช้งาน ผู้ใช้จะรู้สึกอึดอัดและหายใจออกยาก

เหมาะกับผู้ที่มีค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา AHI > 15 ต่อชั่วโมง


2. ที่ครอบฟัน (mandibular advancement splint; MAS)

ที่ครอบฟัน (mandibular advancement splint; MAS)

การใช้ที่ครอบฟันแก้นอนกรน หรือฟันยางแก้นอนกรน จะช่วยยึดขากรรไกรบน และล่างเข้าด้วยกัน และเลื่อนขากรรไกรล่างมาทางด้านหน้า และป้องกันไม่ให้ลิ้นและขากรรไกรตกลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้นขณะนอนหลับ ตอนเช้าหลังจากตื่นนอนจะรู้สึกเมื่อยกรามและฟัน แต่อาการจะหายไปหลังจากตื่นนอนระยะเวลาหนึ่ง

เหมาะกับผู้ที่มีค่า ดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา AHI < 30 ต่อชั่วโมง

ข้อควรระวัง

“การใช้ที่ครอบฟันหรือฟันยางแก้นอนกรน จะต้องถูกใช้ภายใต้การดูแล และติดตั้งโดยแพทย์ผู้ชำนาญเท่านั้น”

การใช้ผลิตภัณฑ์ อาจส่งผลข้างเคียงต่อไปนี้:
• อาจทำให้ตำแหน่งฟันเคลื่อนที่และอาจส่งผลให้เปลี่ยนแปลงลักษณะการกัดของคุณ (คางยื่น)
• อาจทำให้การหายใจทางช่องปากติดขัด ไม่สะดวก
• อาจทำให้มีอาการเจ็บหรือปวดเหงือกและขากรรไกร
• อาจก่อให้เกิดอาการน้ำลายท่วมปาก
• พูดไม่สะดวก


3. อุปกรณ์ยึดลิ้น (tongue stabilizing device,TSD)

อุปกรณ์ยึดลิ้น (tongue stabilizing device,TSD)

หลักการของการรักษาวิธี TSD นี้ คือ เครื่องมือจะทำการยึดลิ้นให้ยี่นออกมาทางด้านหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจบริเวณหลังโคนลิ้นเปิดกว้างขึ้น วิธีนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมี อาการนอนกรนลดลงและนอนหลับได้ดีมากขึ้น

เหมาะกับผู้ที่มีค่า ดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา AHI < 30 ต่อชั่วโมง

ปัญหาที่พบบ่อย คือ มีการหลุดของอุปกรณ์หลังจากคนไข้นอนหลับไปแล้ว และอาจมีการเจ็บเหงือกและฟันหน้าเล็กน้อยหลังจากตื่นนอน แต่ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงในระยะยาว

สรุปแล้วการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ขึ้นอยู่กับค่าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา (AHI) แนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดคือ ให้เริ่มการรักษาด้วย CPAP ก่อนเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด ถ้าผู้ใช้ไม่สามารถใช้งาน CPAP ได้ค่อยหาทางเลือกอื่น เช่น ที่ครอบฟัน หรือ อุปกรณ์ยึดลิ้น เป็นทางเลือกในการรักษาต่อไป