อาการนอนกรน – ผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ที่คุณอาจจะนึกไม่ถึง

30% ของหญิงตั้งครรรภ์อาจมีอาการนอนกรน

แม้ว่าในชีวิตนี้คุณจะไม่เคยนอนกรนเลย มันก็เป็นไปได้มากหากคุณจะมีอาการนอนกรนระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์

การกรน - ผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ที่คุณอาจจะนึกไม่ถึง

ซึ่งเป็นเรื่องจริงในช่วงระยะครรภ์ 3 เดือน การผสมผสานของฮอร์โมนระหว่างตั้งท้อง การขยายตัว และการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทำให้ผิวหนังบริเวณศีรษะและคอ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการนอนกรน การนอนกรนระหว่างช่วงตั้งครรภ์ไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับคุณและสามีเท่านั้น การนอนกรนสามารถนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อแม่และทารกอีกด้วย (ตามข้อมูลของ National Sleep Foundation ในหัวข้อ “30% ของหญิงตั้งครรรภ์มีอาการนอนกรนเนื่องจากการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นในทางเดินจมูก ซึ่งจะปิดกั้นทางเดินหายใจ)

นอกจากนี้ยังพบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรรภ์ จากการวิจัยของ University of Michigan Health System หัวข้อเรื่อง “การนอนกรนเรื้อรั้ง (ในหญิงที่กรนก่อนและระหว่างตั้งครรภ์) พบว่า

ผู้หญิงท้องที่มีอาการนอนกรนจะมีความเสี่ยงในการผ่าท้องทำคลอด และเด็กแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ จากการศึกษาพบว่า เพียงแค่นอนกรนอย่างน้อย 3 คืน/สัปดาห์ ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะพบปัญหานี้แล้ว

หากการตั้งครรภ์เป็นสาเหตุของการนอนกรน ดังนั้นมันก็เป็นเพียงปัญหาชั่วคราวเท่านั้น การหลีกเลี่ยงการมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือกินยานอนหลับ คือวิธีหลักที่จะต่อสู้กับอาการนอนกรน หากคุณหรือสามีของคุณพบว่าคุณนอนกรน วิธีลดการลดอาการนอนกรนทำได้โดยการทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นกว้างขึ้น

resource:
https://sleepfoundation.org/sleep-news/sleeping-the-trimesters-3rd-trimester
http://www.uofmhealth.org/news/archive/201310/pregnant-women-who-snore-higher-risk-c-sections-delivering